พระคเณศ มีรูปต่าง ๆ ตามแต่สมัย

๑) พระพักตร์มี ๕ พระพักตร์ หรือมากกว่านี้ แต่ละรูปมี ๔ กร ก็มี ๒ กร ก็มี ๑๒ กรก็มี หรือมากกว่านั้นก็มี แต่ส่วนมากที่เห็นมี ๔ พระกร ทั้ง ๔ พระกร มีความหมาย คือ กรที่ ๑ ดูแลรักษาจักรวาล กรที่ ๒ รักษาทิศต่าง ๆ กรที่ ๓ รักษาโลกนี้ กรที่ ๔ รักษาบาดาลต่าง ๆ (นาคโลก) ทั้ง ๔ กร ถืออาวุธ ดังนี้

ปาศะ (เชือก) หมายถึง โมหะยาสกะ คือ ตัดกิเลสเครื่องร้อยรัดดั่งเชือก
อังกุศะ (ขอช้าง) ควบคุมให้ไปตามทางที่ดีตลอดเวลา
รทะ งาช้าง ทำลายสิ่งที่มาเป็นอุปสรรคขัดขวาง
วระ ประทานพร ให้ประสพความสำเร็จ

พระคเณศมีหูใหญ่ เพื่อปัดเอาสิ่งสกปรกออกไป สามารถแยกสิ่งที่ดีและไม่ดีออกได้ ผู้ใดมีจินตนาการระลึกถึงพระคเณศ ผู้นั้นจะได้รับความสำเร็จ สามารถขจัดสิ่งขัดขวางไปสู่ความสำเร็จ แยกแยะสิ่งดีและไม่ดีได้ ช่วยให้ถึงความหลุดพ้นได้ พระคเณศมีพาหนะคือหนู ตัวหนูมีลักษณะเหมือนปรมาตมัน สมองและความคิดของหนูว่องไวรวดเร็ว ร่างกายของพระคเณศ มองดูเหมือนรูป โอม

มีปุราณบางเล่มเขียนไว้ว่า ครั้งหนึ่งพระศิวะ และพระแม่ปารวตีประทับอยู่ที่ไกรลาส เขียนตัวอักษรโอม แล้วดูตัวโอมนั้นเหมือนดังที่นั่งสมาธิ จากตัวโอมนั้น พระคเณศก็ปรากฏขึ้นมีหัวเป็นช้าง พระศิวะกับพระแม่ปารวตีดีใจมาก อีกเรื่องหนึ่งครึ่งหนึ่งพระศิวะนั่งสมาธิเห็นพระคเณศในสมาธิขณะทำความคิดถึงปรมาตมัน แต่เห็นรูปพระคเณศ พระศิวะอธิษฐานขอร้องกับพระปรมาตมันนั้นว่า

ท่านมาเป็นบุตรของเราในลักษณะร่างกายนี้ แล้ววันหนึ่งพระคเณศก็มาเป็นพระโอรสของพระศิวะ จึงมีข้อสังเกตว่า พระศิวะและพระแม่อุมาเริ่มทำพิธีบูชาพระคเณศก่อนแต่งงาน

พระคเณศนั้นเรียกว่า คชนัน เอกทันต วักตระตุนฑ หรือ คเณศ มาก่อน คัมภีร์พวกตันตระทางไสยศาสตร์ คณปติเป็นปรมาตมัน กันทาศาสตร์ถือว่า พระพรหม พระวิษณุ พระศิวะ พระอินทร์ องค์เทพต่าง ๆเกิดจากพระคเณศ เมื่อเป็นเช่นนี้พระคเณศก็หมายถึง พระปรมาตมัน ทางโยคะศาสตร์ มีจักรต่าง ๆ ในนั้น มีจักรหนึ่งซึ่งเป็นจักรแรก เป็นคเณศจักร จักรแรกคือความสำเร็จแล้วก็ค่อย ๆ ไปถึงจักรสุดท้าย ถ้าจักรแรกไม่สำเร็จ ก็ขึ้นไปอีกไม่ได้ ในทางไสยศาสตร์เริ่มแรกต้องบูชาพระคเณศก่อน จึงบูชาองค์อื่น ๆ เครื่องหมายสวัสดิกะหมายถึงพระคเณศ สวัสดิกะ ๔ มุมนั้น เปรียบเทียบได้ว่าเป็น ๔ พระกร ของพระคเณศ คือการรักษาทิศทั้ง ๔

กำเนิดของพระคเณศ แต่ละยุค แต่ละสมัย แต่ละกัลป์ คัมภีร์ปุราณต่าง ๆ เขียนไว้เป็นหลายอย่าง เกี่ยวกับการเกิดของพระคเณศ มีคัมภีร์หนึ่งชื่อ ไวยวนะสาคะมะ คือ ไวยานะกับสาคะมะ ที่เป็นปัญจมหาภูต ๑ อากาศภูตเกิด คือ พระคเณศจากอากาศก็เกิดอัคนิตัตวะ ชละตัตวะ อายุตัดวะ ปฤถวีตัตวะ จากฐาน ของตัวภูตต่าง คือ อากาศ อากาศตัตวะ ถือได้ว่าพระคเณศนั้น คือ ปรพรหม หรือ ปรมาตมัน ในคัมภีร์ปัทมปุราณะ เขียนไว้ว่า ยุคหนึ่ง แม่ปารวตี กำลังอาบน้ำอยู่เมื่อถูร่างกายเกิดไคลออกมาพอสมควร สร้างรูปของเด็กที่มีพักตร์เป็นช้าง ทำเล่น ๆ แล้วปล่อยลงไปในแม่น้ำคงคา แต่พระคงคาคิดว่าแม่ปารวตีเพื่อสนิทสร้างขึ้นไม่ควรทำลาย จึงใส่วิญญาณในรูปนั้น แล้วถือเป็นบุตรตนเองด้วย นำไปถวายพระศิวะ

พระศิวะและแม่อุมาก็รับเป็นลูกตั้งชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า คางเคยะ ในลิงคปุราณะ มีอีกเรื่องหนึ่ง มีพวกอสูรได้พวกจากพระศิวะหรือพระพรหม มีอิทธิฤทธิ์เกิดขึ้นจึงทำอนาจารต่าง ๆ นานา พวกเทวดาคิดว่าควรไปขอพระศิวะให้ช่วย จึงรวบรวมองค์เทพต่าง ๆ ไปเฝ้าพระศิวะที่เขาไกรลาส เวลาผ่านไประยะหนึ่ง พระศิวะก็ปรากฏขึ้นต่อหน้าองค์เทพต่าง ๆ ขณะนั้นครูขององค์เทพต่าง ๆ คือ พระพฤหัสบดี เป็นหัวหน้าได้กล่าวกับพระศิวะว่าท่านให้พรแก่พวกเหล่าอสูร มีอิทธิฤทธิทำการอนาจารแล้วยึดสวรรค์โลกของพวกเทวดาทั้งหลายไปกล่าวขอพรกับพระศิวะว่า หากท่านทำให้พวกอสูรไม่ได้รับความสำเร็จ ถ้าเขาไม่ได้รับความสำเร็จเขาก็ไม่ได้รับอิทธิฤทธิ์ พระศิวะก็ประทานพรให้แก่องค์เทพต่าง ๆ ในไม่ช้าแม่ปารวตีได้ลูกองค์หนึ่ง ตั้งแต่เกิดลูกนั้นมีพักตร์เหมือนช้าง แต่กายเป็นมนุษย์ ตั้งแต่เกิด มือหนึ่งถือปาศะ อีกมือหนึ่งมีตรีศูล แม่ปารวตีเห็นลูกก็ดีใจ เทวดาทั้งหลายก็มาร่วมฉลองและให้พรแก่พระคเณศนานาประการ พระศิวะจึงแต่งตั้งให้เป็นเจ้าของคณะให้พรว่า ไม่ว่างานประเภทใดก็ตามถ้าไม่บูชาพระคเณศ งานนั้นไม่ประสพความสำเร็จ ผู้ที่บูชาแล้วจะประสพความสำเร็จ ได้พรจากพระศิวะแล้วก็เป็นคณะปติ รับหน้าที่ให้เกิดพิฆนะต่าง ๆ หมายถึงอุปสรรคต่าง ๆ ไปตามพวกอสูร ถ้าพวกอสูรทำอะไรก็ขัดขวาง ตั้งแต่นั้นได้ชื่อ “พิฆเนศวร” ในศิวปุราณ การเกิดของพระคเณศมีอีกประการหนึ่ง ครั้งหนึ่งแม่ปารวตีกับพระสนมของแม่ปารวตี ๒ คน ชายากับวิชายา สนมทั้ง ๒

รำพึงกับแม่ปารวตีว่าพวกคณะหรือพวกรักษาการ หรือทหาร หรือสาวก นี่อยู่ในไกรลาสนี้ทั้งหมดเป็นของพระศิวะของพระแม่ปารวตียังไม่มีสักคนเดียว ถ้าแม่ปารวตีจะมีเป็นพิเศษคนหรือสองคน แม่ปารวตีได้ฟังแล้วก็มิได้ติดใจอะไร แต่บังเอิญวันหนึ่งแม่ปารวตีกำลังอาบน้ำอยู่ พระศิวะเข้าไปถึงที่นั้น

หน้าที่ : 1 | 2 | 3