“พระปรมาตมันเป็นพระเจ้าสูงสุด” ในภาษาสันสกฤตเราอาจจะเรียกหัวเรื่องข้อนี้ได้ว่า “อุปสสยเทพแห่งสนาตนธรรม” ในพระสนาตธรรมนี้ มีอุปาสยเทพอยู่ด้วยกัน ๓ พระองค์ คือ พระพรหมา (หรือพระพรหมธาดา) พระวิษณุ และ พระศิวะ ความจริงแล้วก็มีพระองค์เดียวเท่านั้น คือ พระปรมาตมัน แต่พระปรมาตมันไม่มีรูปร่างและไม่มีตัวตนเป็นนิรังการ หรือ ริราการ คือ ไม่มีอาการปรากฏ หรือปราศจากอาการนั่นเอง

ครั้งเมื่อพระปรมาตมันมีความประสงค์จะสร้างโลก พระปรมาตมันก็เลยกลายเป็ฯ “สาการภาพ” ขึ้น คือ เกิดภาวะอันมีอาการ และเป็น ตฺรยรูป (สามรูป) ได้แก่ พระพรหมธาดา พระวิษณุ และพระศิวะ

พระพรหมา  เป็นพระเจ้าผู้สร้างโลกต่างๆ
พระวิษณุ เป็นพระเจ้าปาละ คือ ผู้คุ้มครองโลกต่างๆ
พระศิวะ  เป็นพระเจ้าผู้สังหาร หรือทำลายโลกต่างๆ

เมื่อทั้งสามพระองค์มารวมอยู่เป็นจุดเดียวกันก็กลายเป็นพระปรมาตมัน ผู้ไม่มีรูปกาย แต่ หากว่าผู้ใดมีจิตเลื่อมใสศรัทธา ใคร่จะได้ทรรศนาพระเป็นเจ้าทั้ง ๓ พระองค์ หรือองค์ใดองค์หนึ่งก็ ย่อมกระทำได้ หากแต่ต้องตั้งใจปฏิบัติตามคำสั่งสอนในคัมภีร์พระเวทอย่างเคร่งครัด เป็นเวลานานจึงจะสำเร็จ

เทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู

ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มีเทพมากมาย ผู้ที่ได้มีโอกาสไปเยี่ยมศาสนาสถานหรือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ต่างก็จะเห็นได้ว่า แต่ละสถานที่มีเทพเจ้าแต่ละองค์เป็นเอกเทศโดยเฉพาะก็มี ประดิษฐานรวมกันหลายๆ องค์ ก็มี จึงนึกไม่ออกว่าเทพเจ้าองค์ไหนสำคัญกว่า หรือองค์ไหนเป็นเทพเจ้าสูงสุด หรือแต่ละกลุ่มในศาสนิกชนนับถือแต่ละองค์ บางทีในครอบครัวเดียวกัน สมาชิกของครอบครัวแต่ละคนนับถือเทพเจ้าต่างๆ กัน และให้เป็นเทพเจ้าประจำของตน แต่ทุกคนหรือทุกกลุ่มบอกว่าเป็นสาวกของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูเหมือนกัน สำหรับบุคคลที่ไม่เคยศึกษาเกี่ยวกับศาสนาพราหมณ์-ฮินดูมาก่อนนั้น เรื่องนี้เข้าใจยาก บุคคลที่ได้ศึกษาเกี่ยวกับศาสนาฮินดูก็เข้าใจยากเช่นกัน เพราะนักเขียนผู้นั้นก็ได้เขียนตามความเข้าใจของตนเอง โดยไม่สามารถจับใจความแท้ หรือไม่สามารถตีความอันเป็นเนื้อแท้ที่เขาเขียนขึ้นนั้นได้ จึงจำเป็นต้องทราบเสียก่อนว่า เทวดาต่างๆ นี้ได้เกิดขึ้นอย่างไรดังนี้

เมื่อพระปรมาตมันมีความประสงค์จะมีโลภต่างๆ ก็ทรงแบ่งภาคเป็นสามภาค คือ พระพรหม พระนารายณ์ และ พระศิวะ ในเวลาเดียวกัน พระแม่อาทิศักตี ก็ทรงแบ่งภาคเป็นสามองค์ คือ มหาสรัสวดี มหาลักษมี และ มหากาลี หรือ พระแม่อุมาเทวี ทั้งหกองค์นี้แบ่งเป็นปางต่างๆ หรือสร้างเทพเจ้าต่างๆ ขึ้นตามความต้องการ

คัมภีร์ปุราณได้แสดงงไว้ว่ามีเทวดาทั้งหมด ๓๓๐,๐๐๐,๐๐๐ องค์ (สามร้อยสามสิบล้านองค์) เพราะสิ่งของทุกๆ ชนิด มีเทวดาประจำด้วยทุกสิ่ง แม้กระทั่งไม้กวาดที่ใช้ตามบ้านเรือน (ด้วยเหตุนี้จึงเดินข้ามไม้กวาดไม่ได้ถือเป็นบาป ไม่นำไม้กวาดไปใช้สอยธุระเป็นอย่างอื่น และต้องงางไม้กวาดไว้ในที่อันสมควร) ในบ้านเรือนแต่ละส่วนองค์เทพประจำส่วนของบ้าน เช่น เสาแต่ละต้นมีองค์เทพเจ้าแห่งอัญมณีรัตน์ก็คือ พระกุเวร เทพเจ้าแห่งวิชชาก็คือพระแม่สรัสวดี เทพเจ้าแห่งสมองก็คือพระพิฆเนศวร ดังนี้เป็นต้น

เทวดาต่างๆ นี้ ไม่ว่าจะมีรูปร่างต่างกัน ชื่อก็ต่างกัน หน้าที่ก็ต่างกัน แต่เป็นวัญญาณอันเดียวกัน คือ พระปรมาตมันสูงสุดนั้น แบ่งภาคหรือแบ่งปางแต่ละสมัย ตามที่ต้องการหรือตามความจำเป็น

พระคัมภีร์ในศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู

ปัญหาที่ว่า มีพระคัมภีร์อะไรหรือตำราใดบ้าง อันเป็นที่ยกย่องกันในศาสนานี้ ตอบได้ง่ายๆ ว่า พระคัมภีร์ของสนาตนธรรมก็คือพระเวท ก็นามว่า “พระเวท” นี้ มีความหมายกว้างขวางมาก และไม่ง่ายแก่การทำความเข้าใจนัก ถ้าต้องการให้เข้าใจดีก็น่าจะต้องศึกษา “ษฎศาสตร์” คือ ศาสตร์ ๖ แขนง ที่เรียกว่า เวทางคศาสตร์ คือ ความรู้อันเกี่ยวข้องกันและนับเนื่องกันส่วนต่างๆ ที่ประกอบกันเข้าเป็นพระเวท ศาสตร์ ๖ ประการนั้น ได้แก่

๑.
ศึกษาศาสตร์   
สอนการอ่านทำนองของพระเวท ว่าจะอ่านได้อย่างไรบ้าง
๒.
กัลปศาสตร์ 
สอนไว้ว่าพระเวทหรือคำแต่ละคำของพระเวทและมนตร์ต่างๆ
นั้นจะมีวิธีนำเอาไปใช้ที่ไหน อละอย่างไร
๓.
ไวยากรณศาสตร์  
สอนว่าคำแต่ละคำของพระเวท พระมนตร์ อุบัติขึ้นมาอย่างไร
และ ออกเสียงอย่างไร
๔.
นิรุกติศาสตร์  
สอนเรื่องคำพูด หรือ ภาษา ความเข้าใจในภาษาและการรู้จักใช้
ถ้อยคำให้ผู้อื่นเข้าใจ การศึกษาถึงที่มาของคำแต่ละคำว่ามีอะไร
มาประกอบกันเข้าบ้าง จึงสำเร็จเป็นคำได้รูปคำอย่างนี้
๕.
ฉันทศาสตร์ หรือ กาพยศาสตร์
สอนว่ามนตร์แต่ละมนตร์ของพระเวทอ่านทำนอง
อย่างไรและมีวิธีการประพันธ์แต่ละกาพย์แต่ละฉันท์อย่างไรบ้าง
๖.
โ ชฺยติษศาตร์ หรือ โหราศาสตร์
กล่าวคือ ดาราศาสตร์ สอนถึงคติทางโคจรของดวง ดาราทั้งหลายในท้องฟ้า
จะสังเกตได้ว่าในสมัยโบราณนั้น แม้ว่านาฬิกาจะยังไม่มี แต่นักดาราศาสตร์ก็สามารถจะบอกเวลาที่ถูกต้องได้ ทั้งนี้รวมถึงวิชาอุตุนิยมวิทยาด้วย

ดังนั้นจึงเห็นได้ว่า ผู้ใดมีความรู้เรื่องศาสตร์ทั้ง ๖ นี้แล้ว ผู้นั้นก็จะสามารถเข้าใจความหมายของพระเวทได้ดี แต่ทว่าน่าเสียดาย ที่มีบุคคลเพียงส่วนน้อย จะสามารถเรียนให้ครบศาสตร์ทั้ง ๖ แขนงดังกล่าว และพระเวทอื่นๆ ต่อไปอีกด้วยได้ เพราะขึ้นอยู่กับขีดความสามารถของตนจำกัดและสิ่งแวดล้อมทางสังคม เพราะฉะนั้น ท่านมหาฤษี ไ ทฺปายนวยาสมุนี จึงให้แบ่งการศึกษาพระเวทออกกไปเป็น ๔ เล่ม คือ ฤคเวท สามเวท ยชุรเวท และอถรฺวเวท หนังสือพระเวททั้งสี่นี้ยังแยกออกไปได้อีก ๔ เล่ม ที่เรียกกันว่า อุปเวท ดังนี้

หน้าที่ : 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7