กำเนิดของศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู

ในสมัยโบราณแรกเริ่มเดิมที ศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู เรียกว่า “สนาตนธรรม” แปลว่า “ศาสนาสนาตน”
คำว่า “สนาตน” นี้ หมายถึง “เป็นนิตย์” คือ ไม่สิ้นสุด ไม่รู้จักตาย เรื่อยๆ  เสมอๆ นอกจากนี้น คำว่า “สนาตน” ยังแปลได้อีกอย่างนึ่งในเมื่อแยกพยางค์ออกแล้ว คือ สนา แปลว่า ไม่รู้จักตาย หรือ เป็นนิตย์ กับ ตน แปลว่า กาย เมื่อรวมกันเข้าแล้วแปลตามศัพท์ หรือ แปลโดย พยัญชนะว่า กายอันไม่รู้จักตาย แปลเอาความหมายถึง พระวิษณุ หรือกายอันไม่รู้ตายกล่าวคือ พระวิษณุ เพราะฉะนั้น สนาตนธรรมนี้จึงเรียกได้อีกอย่างว่า วิษณุธรรม คือ คำสั่งสอนของพระวิษณุเป็นเจ้า นั่นเอง

ครั้นเวลาล่วงมาหลายปันปี ศาสนานี้ได้มีชื่อเรียกกันต่อมาว่า “ไวทิกธรรม” คือ ธรรมที่ได้มาจากพระเวท ความจริงพระเวทก็คือ คำสั่งสอนของพระวิษณุเป็นเจ้านั่นเอง

หลายพันปีต่อมา มีผู้ตั้งชื่อให้สานานี้ใหม่ว่า “อารยธรรม” ซึ่งแปลงว่า ธรรมอันดีงามก็ได้ ความเจริญด้วยขนบธรรมเนียมอันดีงานก็ได้ รวมความว่าเป็นหลักธรรมอันเจริญ อันดีงานทั้งสิ้น

ครั้นเวลาล่วงมาอีกหลายพันปี ศาสนาสนาตนธรรมนี้ เปลี่ยนไปเรียกกันว่า “พราหมณธรรม” ซึ่งแปลว่า คำสั่งสอนของพราหมณ์ ในสมัยนั้นชนวรรณะพราหมณ์ กำลังครอบครองความเป็นใหญ่มีอำนาจเต็มที่ ผู้ใดไม่เชื่อถือคำสั่งสอนของพราหมณ์ จัดว่ามีโทษหนัก ดังนี้จึงเห็นได้ว่า ทั้งสนาตนธรรม ไวทิกธรรม อารยธรรม และ พราหมณธรรม ว่าที่จริงแล้วก็คือ ธรรมะอันเดียวกันนั่นเอง เพียงแต่เรียกชื่อไปต่างๆ กัน ตามยุคตามสมัย ถึงอย่างไรตำรับพระเวทก็ยังคงมีอยู่ แต่ทว่า อยู่ในกำมือของพราหมณ์ โดยเฉพาะพราหมณ์ผู้มีหน้าที่ที่จะท่องบ่นสาธยาย และสั่งสอนตลอดจนประกอบพิธีต่างๆ ให้แก่ชนในวรรณะของตน

ครั้นต่อมาศาสนานี้ได้เปลี่ยนชื่อเรียกกันใหม่ว่า “หินทูธรรม” ซึ่งเป็นการเรียกตามี่นักปรัชญาและนักประวัติศาสตร์เรียกกัน อันที่จริงคำว่า หินทู นี้ มีประวัติมาจากคำว่า สินธุ ซึ่งเริ่มเรียกกันมาได้ประมาณเมื่อ ๗00 ปีก่อน แล้วมากลายเสียง ส เป็น ห ไปตามภาษาท้องถิ่น เช่น อสฺสม หรือ อัสสัม ก็มาออกเสียงเป็น อะหม หรือ อาห เป็นต้น เพราะฉะนั้น สินธุ จึงมากลายเป็น หินทู ไปบ้าง

คำว่า “หินทู” นี้ ถ้าแปลตามหลักไวยากรณ์ภาษาสันสกฤตแล้ว แปลว่า “ผู้ละเว้นหิงสากรรม” คือ อหิงสก นั่นเอง เพราะตามหลักไวยากรณ์ภาษาสันสกฤต มีการวิเคราะห์ศัพท์สมาสนี้ว่า หิงฺสยา ทูยเต อิติ หินทู แปลความว่า ผู้ใดละเว้นจากหิงสากรรม ผู้นั้น คือ “หินทู” ย่อยจะเห็นได้แล้วว่า ที่ในภาษาไทยเรียก หินทู ว่า ฮินดูนี้ ยังมิใช่คำเรียกที่ถูกต้องนัก คำเรียกที่ถูกต้อง คือ หินทู และด้วยประการฉะนี้ “ฮินดูธรรม” หรือ “หินทูธรรม” จึงแปลว่า ธรรมะที่สอนลัทธิอหิงสา

ปัญหาชื่อที่ว่า “สนาตนธรรม” เกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยไหนนั้น ความจริงในโลกก็ยังไม่เคยมีใครสามารถตอบได้อย่างถูกต้องถ่องแท้เลย ได้แต่สันนิษฐานและอภิปรายในความเห็นกันไปต่างๆ ตามทรรศนานุทรรศนะแห่งตน
ในคัมภีร์พระเวทตอนหนึ่งบอกไว้ว่า “สนาตนธรรม” นี้ เป็นธรรมทั้งอนาทิแลเนติ ควำว่า อนาทิ (อน+อาทิ) แปลตามศัพท์ก็ว่า ไม่มีต้น หรือ ไม่สามรถหาตอนปลายได้หรือไม่รู้จบ นั่นเอง หากจะสรุปให้ง่าย สนาตนธรรม ก็คือ ธรรมะอเนไม่มีต้นและไม่มีปลายด้วย

อย่างไรก็ตาม ศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู เชื่อถือกันว่า “สนาตนธรรม” นี้ เกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อแรกเริ่มต้นสร้างโลกแล้ว ซึ่งนับได้ว่า เป็นเวลาที่นานอย่างเหลือที่จะคณานับ แต่ถึงกระนั้นใน “สนาตนธรรม” ก็ยังสู้อุตส่าห์นับจำนวนปีได้หถึงเลข ๑๕ ตัว หรือ ๑๕๕,๕๒๘,๖๔๓,๘๙๓,๐๘๕ (หนึ่งร้อยห้าสิบห้าล้านห้าแสนสองหมื่นปดพันหกร้อยสี่สิบสามล้านแปดแสนเก้าหมื่นสามพันแปดสิบห้า) ปีแล้ว ตามหลักในคัมภีสร์โหราศาสตร์ “สุริยสิทธานตะ” ซึ่งการนับเช่นนี้ในภาษาฮินดี อันเป็นราษฎรภาษา คือ ภาษากลางแห่งชาติของประเทอินเดีย อ่านตรงกับภาษาไทยว่า “สิบห้านีล ห้าสิบ ห้า ขรพ ยี่สิบแปดอรุพ หกสิบกโรฑ (โกฎิ) สามสิบแปดลาข (ล้าน) เก้าสิบสามสหศตร (พัน) กับแปดสิบห้าปี

พระศาสดาของศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู

“ศาสดา” หรือ “ผู้ตั้งศาสนา” ในภาษาสันสกฤต เรียกว่า “ธรมปรวรตก แห่งสนาตนธรรม” แปลอีกนัยหนึ่ง ให้ตรงกับภาษาไทยก็ได้ว่า “พระศาสดาของศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู” และ พระศาสดาของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูนี้ก็ยังมีอยู่หลายกัลป์

ในบางกัลป์พระพรหมา หรือปางของพระพรหมาเป็นประธาน ก็เรียกกัลป์นั้นว่า “พรหมกัลป์” ในบางกัลป์พระวิษณุ หรือปางของพระวิษณุเป็นประธาน ก็เรียกกัลป์นั้น ตามปางของพระวิษณุ มี ๑๐ ปาง เช่น วิษณุกัลป์ วาราหกัลป์ เป็นต้น

ในบางกัลป์พระศิวะ หรือปางของพระศิวะเป็นประธาน ก็เรียกกัลป์นั้นตามปางของพระศิวะ มี ๑๑ ปาง เช่น ศิวกัลป์ รุทรกัลป์ เป็นต้น ไม่ว่าในกัลป์ที่พระพรหมาเป็นประธาน หรือพระวิษณุเป็นประธาน หรือพระศิวะเป็นประธานก็ตามจะได้ยินเสียงจากนภากาศเรียก “อากาศวาณี” จากปรพหม (พระปรมาตมัน) แล้วนำคำสั่งสอนนั้นสอนให้แก่ สนกะ ในกัลป์ที่พระพรหมาเป็นประธาน สั่งสอนแก่สนกะ, ในกัลป์ที่พระวิษณุเป็นประธานสั่งสอนให้แก่ พระพรหมา แล้วพระพรหมาสั่งสอนให้แก่สนกะ, ในกัลป์ที่พระศิวะเป็นประธาน สั่งสอนให้แก่ พระพรหมาแล้วพระพรหมาสั่งสอนให้แก่ สนกะ

คำสั่งสอนธรรมะและวิธีปฏิบัติธรรม สนกะเป็นผู้รับและสั่งสอนต่อให้ สนนทนสนนทน สอนให้แก่ สนาตนะ สนาตนะสอนให้แก่ สันตกุมาร ผู้เป็นบุตรของพระพรหมาธดาอีกชั้นหนึ่ง ครั้นต่อมาพระพรหมาธาดา กับ สนตกุมาร ก็ได้สั่งสอนแก่ พระนารทมุนี ผู้เป็นเทพฤษีเพื่อให้เผยแพร่ต่อไปยังนานาโลก แต่สำหรับในมนุษย์โลกนี้ พระอุปเทศก คือ พระผู้แสดงเรื่องราวทางศาสนารองลงมาจาก พระนารทมุนี ก็คือ พระกปิลมุนี ผู้เกิดมาเป็นมนุษย์แท้ๆ มีตัวตนจริงๆ อยู่ในโลกนี้ พระบิดามีชื่อว่า กรรทมมุนี พระมารดาชื่อ เทวหูติ พระกปิลมุนีได้แสดงธรรมเทศนาครั้งแรกที่ วินทุอาศรม ครั้นต่อมาก็ได้ตั้งอาศรมขึ้นที่ปลายทางแม่น้ำคงคงที่ เรียกว่า กันคงคาสาคร ในเดือนธันวาคมและมกราคม ทุกปี จึงมีประชาชนเป็นจำนวนมากไปจาริกแสวงบุณย์กัน ณ ที่แห่งนั้น

หน้าที่ : 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7